วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรม


เผยแพร่นวัตกรรม
แบบรายงานผลการพัฒนานวัตกรรม

นายอิสราภรณ์ จันทร์เอน ครูชำนาญการโรงเรียนวัดสิริมงคล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4

นักศึกษา สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

.......................................................................................................................................................

1. ชื่อนวัตกรรม ดนตรีศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียน



2. นวัตกรรมด้าน การพัฒนาผู้เรียน



3. ความเป็นนวัตกรรม

ดนตรีทุกประเภทมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีบทบาทในการพัฒนาจิตใจมนุษย์ทุกคน ที่ได้รับ

ฟังเสียงดนตรีชิ้นนั้นๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน รวมทั้งการนำเครื่องดนตรีแต่ละประเภทมาบรรเลงรวมกันเป็นวง จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะมากยิ่งขึ้น

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดวิชาดนตรี เป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มวิชาศิลปะ ซึ่งอยู่ในกลุ่มพัฒนาผู้เรียน ตามโครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยได้ระบุถึงความสำคัญของดนตรีไว้ว่า ดนตรีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีจิตใจที่เป็นศิลปะ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นผู้มีจิตสาธารณะ อันก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และนอกจากนั้นดนตรียังเป็นเครื่องมือในการแสวงหารายได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ดนตรี บางชนิดยังแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และเอกลักษณ์ของชาติ

การเรียนการสอนดนตรีไทย ดนตรีสากลในปัจจุบันมิได้มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะพื้นฐานเพียงอย่างเดียว หากมุ่งหวังให้ผู้เรียนนำความรู้ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ใช้เครื่องดนตรีที่บรรเลงรวมกันเป็นวง สามารถหารายได้ในขณะเรียนไปด้วย ซึ่งเป็นการช่วยผู้ปกครองอีกแรงหนึ่ง

สภาพปัจจุบันมีนักเรียนจำนวนมากทีมีปัญหาในด้านการเรียนดนตรี ขาดทักษะในการเล่นที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าขณะนี้ปัญหาเรื่องความผิดพลาดอาจเกิดมาจากสาเหตุหลายๆ ประการ เช่นปัญหาเกี่ยวกับตัวครูผู้สอน ได้แก่ ครูไม่มีทักษะด้านดนตรีอย่างแท้จริง ขาดเทคนิควิธีสอน เป็นต้น ปัญหาจากตัวนักเรียน ได้แก่ นักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน มีทักษะเฉพาะตัวด้านดนตรีต่างกัน เป็นต้น ปัญหาที่เกี่ยวกับทางโรงเรียน เช่น วัสดุอุปกรณ์ดนตรีมีไม่เพียงพอ รัฐไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการได้

โรงเรียนวัดสิริมงคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 ที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จากการพัฒนาการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่า ยังประสบปัญหาอยู่หลายประการที่ส่งผลให้คุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษายังด้อยอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มสาระศิลปะดนตรี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ชัดเจน จากผลการประเมินที่ผ่านมา การจัดการศึกษาด้านดนตรีของโรงเรียนยังด้อยอยู่ และจากผลการวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการเล่นดนตรี ขาดความรู้ ขาดครูผู้สอนที่มีทักษะเฉพาะด้าน

ดังนั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าในฐานะที่เป็นครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จึงมองเห็นความสำคัญ และความจำเป็นในการที่จะต้องพัฒนา เครื่องมือ วิธีสอนดนตรีเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป



4. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม



4.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำนวัตกรรมไปใช้

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้มีทักษะในด้านดนตรี

1.2 เพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ความสำคัญของดนตรี ควรค่าอนุรักษ์

1.3 เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูผู้สอนในโรงเรียน

1.4 เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. เป้าหมาย

2.1 ผู้เรียนให้มีความรู้มีทักษะในด้านดนตรี

2.2 ผู้เรียนเห็นคุณค่า ความสำคัญของดนตรี ควรค่าอนุรักษ์

2.3 ครูผู้สอนในโรงเรียนสามารถนำไปสอนได้

2.4 นวัตกรรมมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น



4.2 วิธีการได้มาของนวัตกรรม

การพัฒนาการศึกษาด้านดนตรีของนักเรียนระดับมัธยมต้น โรงเรียนวัดสิริมงคล ถือว่าเป็น

หัวใจต่อการพัฒนาการทางด้านความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดทักษะด้านดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงความสำคัญ ซาบซึ้ง เกิดทักษะ สามารถนำทักษะเฉพาะทางด้านดนตรีไปประกอบอาชีพได้

ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ ผู้เรียนเกิดทักษะ ผู้สอนจึงคิดสร้างนวัตกรรม “ชุดฝึกทักษะปฏิบัติดนตรี” ให้กับผู้เรียนและผู้สนใจศึกษาต่อไป



4.3 เครื่องมือในการตรวจสอบ

4.3.1 แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจด้านดนตรีก่อนเรียน หลังเรียน จำนวน 20 ข้อ

4.3.2 แบบฝึกทักษะปฏิบัติ จังหวะ ทำนองดนตรี ที่ผู้สอนสร้างขึ้น จำนวน 6 แบบฝึก

4.3.3 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก

4.3.4 แบบประเมินการเล่นดนตรีของนักเรียน



5. การออกแบบนวัตกรรม

5.1 ความหมาย

แบบฝึกทักษะปฏิบัติด้านดนตรี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสิริมงคล

หมายถึง กิจกรรม บทเรียนทักษะที่ครูผู้สอนสร้างขึ้น เพื่อนำมาฝึกแก้ไขข้อบทพร่องในการบรรเลงเพลงประกอบกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ได้แก่ กิจกรรมหน้าเสาธง โดยการบรรเลงเพลงชาติประกอบการร้องเพลงชาติ การเดินแถวเข้าห้อง ใช้เพลงกราวกีฬาประกอบการเดินแถว กิจกรรมวันสำคัญ ใช้เพลงมหาฤกษ์ เพลงสยามมานุสติ กิจกรรมช่วยงานศพในชุมชน ใช้เพลงธรณีกรรแสง เป็นต้น

5.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

5.2.1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544

5.2.2 คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

5.2.3 หนังสือเรียนศิลปะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

5.2.4 Vcd เพลงที่เกี่ยวกับการบรรเลงเพลงในการจัดกิจกรรม



6. แนวทางการนำนวัตกรรมไปใช้

ในการนำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีการดำเนินการ ดังนี้

6.1 ทดสอบวัดทักษะก่อนเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน

6.2 นำแบบฝึกทักษะให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ทีละทักษะจนครบ โดยแต่ละแบบฝึกจะต้องประเมิน

การฝึกให้แล้วเสร็จไปพร้อมกับการปฏิบัติดนตรีด้วย

6.3 ทดสอบวัดทักษะหลังเรียน

6.4 นักเรียนลงมือปฏิบัติการบรรเลงดนตรีด้วยตนเอง และนำเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมาบรรเลง

รวมกันเป็นวงดุริยางค์ของโรงเรียน

6.5 นักเรียนนำวงดุริยางค์ไปบรรเลงเพลงประกอบกิจกรรมต่างๆ ตามวัน เวลา และสถานการณ์



7. ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้

หลังจากที่ได้นำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียน ปรากฏผลดังนี้

7.1 เปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียน และทดสอบหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จำนวน 30 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก



7.2 นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติการเล่นดนตรีเป็นวงดุริยางค์ จำนวน 30 ชิ้น พบว่า นักเรียน

บรรเลงเพลงประกอบกิจกรรมหน้าเสาธง โดยใช้เพลงชาติไทย เพลงกราวกีฬาประกอบการเดินแถวเข้าห้องเรียนได้เป็นอย่างดี บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ประกอบพิธีเปิดงานต่างๆ เช่นวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน บรรเลงเพลงธรณีกรรแสง ในการนำหน้าขบวนศพ ในเขตบริการของโรงเรียน

7.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และผู้รับบริการโดยเฉพาะผู้ปกครอง พบว่า

โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด



8. คุณค่าของนวัตกรรม

นวัตกรรมที่ได้จากการฝึกทักษะปฏิบัติดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน

วัดสิริมงคล จำนวน 30 คน สามารถใช้เป็นนวัตกรรมให้ครูผู้สอนที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ สามารถนำไปพัฒนา แก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น